ศาลเจ้าพ่อกว้าน ความเชื่อของคนโบราณ

  • By admin
  • พฤศจิกายน 9, 2021
  • 0
  • 787 Views
ศาลเจ้าพ่อกว้าน

ศาลเจ้าพ่อกว้าน ความเชื่อของคนโบราณ

 

หากจะกล่าวถึง “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” ส่วนตัวเชื่อว่าบรรดาเหล่าประชาชนภายในจังหวัดลำปางน่าจะมีความรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศาลแห่งดังกล่าวเป็นที่กราบสักการะของประชาชนอยู่ไม่ขาดสาย หลายๆ คนมั่นใจว่า “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” มีความศักดิ์สิทธิ์ควรค่าแก่การเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” ตั้งอยู่ตรงบริเวณบ้านพักผู้พิษากษา/หัวหน้าศาล ถนนบุญวาทย์ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ลักษณะเป็นศาลทรงไทยขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างยาวประมาณ 10 x 20 เมตรด้วยกัน ก่อสร้างมาจากไม้สักเป็นหลัก ผ่านการแกะสลักลวดลายตรงบริเวณหน้าจั่วมาอย่างประณีตพิถีพิถัน

สำหรับ “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” นับว่าเป็นศาลตัดสินความของทางราชการ โดยด้านในของศาลประกอบไปด้วยหลากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็น แท่นสำหรับเจ้านาย บัลลังก์ของจ่าบ้าน หรือแม้กระทั่งผู้พิพากษาก็ตามที หากย้อนกลับไปมองในอดีตที่ผ่านมาพบว่าในสมัยโบราณเมื่อเกิดการพิพากษาตัดสินคดี ก่อนจะต้องให้การต่อศาลทางด้านของคู่กรณีจะต้องไปสาบานต่อหน้าหอเล็กๆ เสียก่อน ซึ่งก็คือแหล่งสิงสถิตของเจ้าพ่อกว้านนั่นเอง หลังจากนั้นเป็นต้นมาศาลสถิตยุติธรรมแห่งต่างๆ จึงพลอยมีชื่อว่า “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” ตามไปด้วยเช่นกัน ประชาชนหลั่งไหลเข้ามากราบสักการะท่านอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอไม่เคยขาดสายเลยทีเดียว

ในเวลาต่อมามีการก่อสร้างศาลยุติธรรมแห่งใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การตัดสินคดีความต่างๆ ย่อมต้องย้ายมาศาลยุติธรรมแห่งใหม่ด้วย จึงมีการตัดสินใจย้าย “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” สร้างขึ้นใหม่แถวๆ บริเวณโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความเชื่อขนบธรรมเนียมเดิมๆ ให้คงไว้ กระทั่งเมื่อถึงปี พ.ศ.2497 ปรากฏว่าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยมีโครงการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ซึ่งครอบคลุมไปทั่วอาณาบริเวณ รวมไปถึงบริเวณของ “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” จึงมีการตัดสินใจรื้อถอนศาลออกในที่สุด แม้ว่าในขณะนั้นหลายๆ คนอาจจะไม่ค่อยเห็นด้วยก็ตาม

อย่างไรก็ตามหลังจากปี พ.ศ.2497 เป็นต้นมา ย่อมต้องเกิดการรื้อถอน “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” เพราะทางโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยเพิ่งได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และโครงการต้องดำเนินต่อไปจนเสร็จสิ้น โดยหลังจากรื้อถอนศาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชิ้นไม้จาก “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” บางส่วนถูกนำมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์วัดเมืองศาสน์ และวัดพระแก้วดอนเต้า ขณะเดียวกันโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยก็ตั้ง “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” ขนาดเล็กหลังใหม่ทดแทน เพื่อต้องการให้เจ้าพ่อกว้านมีสถานที่สำหรับสิงสถิต จากนั้นมีการย้าย “ศาลเจ้าพ่อกว้าน” อีกครั้งมายังที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งมีการก่อสร้างให้ใหญ่โตมากกว่าเดิม แถมยังมีความสวยงามอลังการเพิ่มขึ้นด้วยอีกต่างหาก

 

 

 

 


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *