
ความเชื่อโบราณที่เกี่ยวกับความฝัน
ความฝันเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้จัก และได้เคยสัมผัสมาด้วยกันทุกคน ในความเชื่อของคนส่วนใหญ่ความฝันไม่ได้แต่เพียงจินตนาการยามหลับเท่านั้น แต่ความเชื่อของคนไทยความฝันเป็นเสมือนการทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือในโลกแห่งความจริงได้ ดังนั้นจึงได้เกิดการทำนายฝัน โดยการนำเรื่องความฝันมาคิดและทำให้เป็นเรื่องจริง จนเกิดเป็นความเชื่อ หรือคำถามว่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ เป็นลางบอกเหตุอะไรหรือไม่ หรืออาจทำให้ต้องพบเจอกับเรื่องในฝันในความเป็นจริงหรือไม่ สำหรับวันนี้จะได้รู้กัน เพื่อใครที่เชื่อจะได้ระวังหรือนำเรื่องในฝันไปใช้ประโยชน์ทางใดทางหนึ่งต่อไป
แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่ความเชื่อเรื่องความฝันยังอยู่คู่คนไทยเสมอ และส่งให้มีอิทธิพลในความเชื่อว่า จะสามาถบอกลางร้ายหรือดีเป็นการล่วงหน้าได้ ซึ่งจะมีความแม่นยำสูงสุด แม้ว่าจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม ลักษณะของความเชื่อเรื่องความฝันที่เล่าสืบต่อกันมา ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะดังนี้
- หากฝันว่าฟันหัก หรือฟันหลุด หมายความว่าคนในครอบครัวจะเจ็บป่วย
- ฝันว่างูรัด ทายว่าผู้ฝันจะพบเนื้อคู่ หรือได้แต่งงาน
- ฝันเห็นอุจจาระ ทำนายว่าจะมีโชคมีลาภ ได้เงินทอง
สำหรับความฝันในรูปแบบอื่นจะเป็นความฝันที่บอกเหตุการณ์ล่วงหน้า ซึ่งจะจริงบ้างไม่จริงบ้างขึ้นอยู่กับการตีความหมาย หรือถ้าเป็นฝันร้ายก็ต้องมีพิธีกรรมหรือการแก้เคล็ดเพื่อให้ความฝันนั้นกลายเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งอาจเป็นไปตามหลักโหราศาสตร์ ซึ่งก็พอสรุปได้ดังนี้
- การแก้ฝันโดยการเข้าวันเข้าวา เพื่อทำบุญ บอกเล่าขออย่าในฝันร้ายกลายเป็นจริง ขอให้พระช่วยปกปักรักษาด้วย และขอให้อยู่เย็นเป็นสุข
- การแก้ฝันกับบุคคล เช่น การไปเล่าความฝันให้ผู้หลักผู้ใหญ่ฟังเพื่อให้ช่วยตีความ ไม่ว่าจะเป็นฝันดีหรือร้าย ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะอวยชัยให้พร และแนะนำให้ปฏิบัติตัวให้ดี ในทางที่ควรจะเป็น
- หรือหากไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะช่วยแก้ฝันให้ บางคนก็ไปสวดมนต์ นั่งสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบก็สามารถที่จะช่วยได้
- บางความเชื่อในเรื่องของความฝันนั้น เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วและรู้สึกว่าเมื่อคืนฝันดี ก็มาตีเป็นตัวเลข เพื่อการขอโชคขอลาภ แต่ถ้าเป็นฝันร้ายก็จะหันหน้าไปไหว้พระที่บ้าน หรือสวดมนต์และอธิฐานในสิ่งดีเพื่อให้ฝันร้ายนั้นกลายเป็นดี
- บางคนเชื่อว่าฝันร้ายจะกลายเป็นดี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน